ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
ศูนย์ศึกษาแห่งนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักวิชาการไทยและญี่ปุ่นในการ
จัดตั้งศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา (Ayutthaya Historical study Centre)
ขึ้นในปี พ.ศ. 2529
โดยมองว่าอยุธยานอกจากจะเป็นอดีตเมืองหลวงของสยามที่มีอายุยืนยาวถึง 417 ปี
และได้วางรากฐานทางวัฒนธรรมให้กับประเทศไทยสมัยใหม่แล้วยังเคยเป็นศูนย์กลาง
ของสังคมการค้าในอุษาคเนย์ในระยะเวลาหนึ่งด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
เราไม่อาจรู้จักและไม่อาจเข้าใจประเทศไทยและภูมิภาคอุษาคเนย์ได้อย่างชัดเจน
หากละเลยที่จะเข้าใจสังคมอยุธยาในประวัติศาสตร์
ความตั้งใจของนักวิชาการไทย-ญี่ปุ่นดังกล่าว ได้ปรับขยายจากข้อเสนอของสมาคมไทย-ญี่ปุ่น และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ให้มีการปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ หมู่บ้านญี่ปุ่นมาเป็นการจัดตั้งศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาแทน และมีความตกลงร่วมกันระดับรัฐบาล โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 999 ล้านเยน (ประมาณ 170 ล้านบาทในเวลานั้น) เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ. 2530 และเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น ครบรอบ 600 ปี
ความตั้งใจของนักวิชาการไทย-ญี่ปุ่นดังกล่าว ได้ปรับขยายจากข้อเสนอของสมาคมไทย-ญี่ปุ่น และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ให้มีการปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ หมู่บ้านญี่ปุ่นมาเป็นการจัดตั้งศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาแทน และมีความตกลงร่วมกันระดับรัฐบาล โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 999 ล้านเยน (ประมาณ 170 ล้านบาทในเวลานั้น) เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ. 2530 และเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น ครบรอบ 600 ปี
อาคารของศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนแรกเป็นส่วนหลักตั้งอยู่ในเกาะเมืองอยุธยาติดกับสถาบันราชภัฏอยุธยา ส่วนที่สองเป็นส่วนผนวกตั้งอยู่บริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นในสมัย อยุธยา ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ใต้วัดพนัญเชิง
ส่วนแรกเป็นส่วนหลักตั้งอยู่ในเกาะเมืองอยุธยาติดกับสถาบันราชภัฏอยุธยา ส่วนที่สองเป็นส่วนผนวกตั้งอยู่บริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นในสมัย อยุธยา ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ใต้วัดพนัญเชิง
ภายในศูนย์ฯ มีการจัดแสดงนิทรรศการถาวร
โดยนำจุดเด่นของกรุงศรีอยุธยาในด้านต่างๆ
มานำเสนอด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและน่าสนใจ เช่น ใช้แผนผัง แผนภาพ แผนที่
และแบบจำลอง รวมทั้งใช้เสียงและภาพเคลื่อนไหว
ง่ายในการทำความเข้าใจพัฒนาการของกรุงศรีอยุธยาในด้านต่างๆ
นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
สามารถเห็นภาพรวมของกรุงศรีอยุธยาในสมัยเป็นราชธานีได้ในเวลาอันสั้น
การจัดแสดงภายในศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยามีทั้งสิ้น 4
หัวข้อ คือ อยุธยาในฐานะเมืองราชธานี, ในฐานะเมืองท่า,
ในฐานะศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการปกครอง
และชีวิตชุมชนชาวบ้านไทยในสมัยอดีต อีกทั้งคำอธิบายยังมีทั้งภาษาไทย
ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น ส่วนอีกหัวข้อหนึ่งคือ
ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับต่างประเทศนั้น ได้
จัดแสดงที่บริเวณหมู่บ้านญี่ปุ่น
ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกในตำบลเกาะเรียน
อีกทั้งเข้าใจชีวิตของชาวอยุธยาในอดีตได้ง่าย
จึงเหมาะที่จะเป็นจุดตั้งต้นในการท่องเที่ยวเรียนรู้อดีตราชธานีกรุง
ศรีอยุธยา เพราะจะทำให้การเที่ยวชมในสถานที่จริงสนุกและได้อรรถรสยิ่งขึ้น
ที่น่าสนใจคือจะได้เห็นแบบจำลองของพระบรมมหาราชวัง อันประกอบด้วยอาคารต่างๆ
แสดงให้เห็นสภาพบูรณ์ของพระราชวังก่อนจะถูกทำลาย
แผนที่แสดงเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างอยุธยากับบรรดาประเทศต่างๆ
แบบจำลองภายในวิหารพระศรีสรรเพชญ์ เรือสำเภาจำลอง
รวมไปถึงการจำลองสภาพหมู่บ้านชุมชนริมน้ำและวิถีชีวิตผู้คนให้ชมอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเจ้าสามพระยา
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดในจังหวัดอยุธยา
และจัดแสดงศิลปวัตถุสมัยอยุธยาที่สำคัญ ๆ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2502
จากเงินที่ประชาชนขอเช่าพระพิมพ์จากกรมศิลปากรที่ขุดได้จากกรุวัดราชบูรณะ
เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,416,928 บาท เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม
พ.ศ. 2504 และโดยเหตุที่วัดราชบูรณะสร้างขึ้นในสมัยเจ้าสามพระยา
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงใช้พระนามของพระองค์เป็นชื่อพิพิธภัณฑ์ด้วย
1. หมู่อาคารเรือนไทย
สร้างคร่อมอยู่บนสระ จัดแสดงเพื่อรักษารูปแบบเรือนไทยแบบภาคกลาง และจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในเรือนอาศัยของคนไทยภาคกลางในอดีต
2. อาคารศิลปะในประเทศไทย
เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่รวบรวมได้จากจังหวัดอยุธยา เช่น สมัยทวารวดี (พระพุทธรูปหินประทับยืนบนหัวของพนัสบดี พระพุทธรูปสำริดประทับยืนปางประทานพร) สมัยศรีวิชัย (เศียรพระสำริด) สมัยลพบุรี (พระพุทธรูปสำริดปางประทานพร ปางนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สมัยสุโขทัย (เครื่องกระเบื้องเคลือบต่าง ๆ โดยเฉพาะตุ๊กตา) สมัยเชียงแสน สมัยอยุธยา (ฐานพระพุทะรูปทำ
จากดินเผา
มีรูปพระแม่ธรณี และเศียรพระพุทธสาวกที่ทำจากดินเผา) สมัยรัตนโกสินทร์
(แผ่นหินอ่อนจำหลักเรื่อง รามเกียรติ์ จากวัดโพธิ์)เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่รวบรวมได้จากจังหวัดอยุธยา เช่น สมัยทวารวดี (พระพุทธรูปหินประทับยืนบนหัวของพนัสบดี พระพุทธรูปสำริดประทับยืนปางประทานพร) สมัยศรีวิชัย (เศียรพระสำริด) สมัยลพบุรี (พระพุทธรูปสำริดปางประทานพร ปางนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สมัยสุโขทัย (เครื่องกระเบื้องเคลือบต่าง ๆ โดยเฉพาะตุ๊กตา) สมัยเชียงแสน สมัยอยุธยา (ฐานพระพุทะรูปทำ
3. อาคารตึกเจ้าสามพระยา
เป็นอาคารหลักที่สำคัญที่สุด เพราะเก็บศิลปวัตถุอยุธยาชิ้นที่ถือว่าสำคัญ ๆ มากมายหลายขิ้น


นอกจากจะได้เห็นเพนียดคล้องช้าง
หรือที่คัดเลือกช้างลักษณะดีไว้ใช้ในยามสงครามในสมัยโบราณแล้ว
ปัจจุบันบริเวณเพนียดคล้องช้างยังเป็นปางช้าง หรือที่พักช้างจำนวนหลายสิบเชือก
ที่มาจากจังหวัดต่างๆเช่น สุรินทร์ ชัยภูมิ
เมื่อเสร็จจากการบริการนักท่องเที่ยวที่บริเวณวัดมงคลบพิตรในเกาะเมืองอยุธยาแล้ว
ครวญช้างก็จะนำช้างมาพักอยู่บริเวณเพนียด
ประวัติ นับตั้งแต่สถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึง
รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพนียดคล้องช้าเคยตั้งอยู่บริเวณวัดซอง
หรือที่ว่าการอำเภอกรุงเก่าในปัจจุบันปี พ.ศ.2123 พระมหาธรรมราชาทรงขยายกำแพงเมืองกินพื้นที่มาถึงบริเวณเพนียด
จึงให้ย้ายเพนียดไปตั้งนอกกำแพงเมืองเพนียดคล้องช้างได้ทรุดโทรมไปเมื่อครั้งเสียกรุง
ต่อมารัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะขึ้นใหม่ และมีการซ่อมแซมอีกในรัชกาลที่ 3
และรัชกาลที่ 5
การคล้องช้างเป็นที่น่าสนใจของชาวตะวันตกมาก ดังปรากฏในจดหมายเหตุของ
เซอวาเลีย เดอโซมองต์
ซึ่งเป็นราชทูตฝรั่งเศส ที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ว่าได้มีโอกาสชมการคล้องช้างที่เพนียดเป็นที่ประทับใจยิ่งนัก
สิ่งที่น่าสนใจ เพนียดก่อเป็นกำแพงอิฐล้อมเป็นคอกสี่เหลี่ยม มีประตูสำหรับต้อนโขลงช้างป่า
ให้เดินเข้าซองไป ซึ่งชั้นนี้จะเป็นช้างที่ยังไม่ได้คัดเลือก ถ้าเชือกไหนลักษณะดีต้องตามตำราคชศาสตร์ ก็จะต้อนแยกเข้าคอกชั้นใน ซึ่งทำด้วยซุงท่อนใหญ่นับร้อยท่อน ตรงกลางคอกเพนียดเป็นมณฑป ที่ประกอบพิธีพราหมณ์ขณะคล้องช้าง ส่วนพระมหากษัตริย์จะประทับที่พระที่นั่งเพนียดซึ่งอยู่บนกำแพงคอนกรีต